อสังหาริมทรัพย์คืออะไร

              อสังหาริมทรัพย์คืออะไร อสังหาริมทรัพย์หมายถึงอะไร เป็นคำถามชวนคิดสำหรับคนที่สนใจหรือเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ รู้หรือไม่ว่า อสังหาริมทรัพย์คือเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คุณคิด เพราะแน่นอนทุกคนต้องมีที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ หรืออพาร์ตเมนต์
แต่ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัยและที่ดินเท่านั้นที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ยังมีอีกหลายสิ่งที่ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่นี้ แล้วอสังหาริมทรัพย์นั้นมีอะไรบ้าง อสังหาริมทรัพย์หมายถึงอะไร มีความแตกต่างจากสังหาริมทรัพย์อย่างไร ก่อนที่จะตอบคำถามเหล่านี้ ไปดูความหมายของอสังหาริมทรัพย์คืออะไร อสังหาริมทรัพย์หมายถึงอะไร กันก่อนดีกว่า

              อสังหาริมทรัพย์คืออะไร
อสังหาริมทรัพย์คือ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เช่น อาคาร บ้านเรือน สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม ไม้ยืนต้น รวมถึงสิ่งอื่นใดที่อยู่ติดกับที่ดินซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้ นอกจากนี้ทรัพย์ตามธรรมชาติที่ประกอบเป็นอันเดียวกับดิน เช่น แม่น้ำ บึง แร่ กรวด ทราย ที่อยู่ในอาณาบริเวณที่ดินนั้นก็จัดว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย อสังหาริมทรัพย์หมายถึงสิทธิ์ที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วย เช่น สิทธิครอบครองที่ดิน และสิทธิในการอยู่อาศัย ก็ถูกจัดเอาไว้ในหมวดหมู่นี้ อสังหาริมทรัพย์หมายถึงอะไร อสังหาริมทรัพย์คืออะไร อาจกล่าวได้แบบง่าย ๆ ว่า อสังหาริมทรัพย์คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ หากเคลื่อนย้ายหรือทำลายได้ก็จะทำได้อย่างยากลำบากนั่นเอง
อสังหาริมทรัพย์ แตกต่างจากสังหาริมทรัพย์อย่างไร
สังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ไม่ติดอยู่กับพื้นดิน สามารถนำติดตัวไปไหนมาไหนได้ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ เครื่องใช้ในครัวเรือน เสื้อผ้า เครื่องประดับ คอมพิวเตอร์ มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เรียกง่าย ๆ ว่าทรัพย์สินใดที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น นอกจากนี้สิทธิในสังหาริมทรัพย์ เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ก็จัดว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่นกัน

              ลักษณะของอสังหาริมทรัพย์คืออะไรบ้าง
มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้นขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งและสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวทรัพย์สิน หากเศรษฐกิจตกต่ำราคาของอสังหาริมทรัพย์ก็จะตกต่ำลงไปด้วย ช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาทองของนักเก็งกำไรในการช้อนซื้อ และนำไปขายต่อในภายหลังเมื่อราคาเพิ่มสูงขึ้นมา จึงสามารถพูดได้ว่าตัวแปรสำคัญต่อราคาของอสังหาริมทรัพย์คือ เศรษฐกิจ อสังหาริมทรัพย์นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเงินค่อนข้างช้า ส่งผลให้การถือครองมีความเสี่ยงกว่าการถือครองเงินสด แต่สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ให้เกิดประโยชน์เพื่อสร้างกระแสเงินสดเข้ามา เช่น ปล่อยให้เช่า หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวบนอสังหาริมทรัพย์ที่มี เป็นต้น ราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยปกติจะมีแต่เพิ่มขึ้นไม่มีลดลง จึงเหมาะกับการถือครองเอาไว้ในระยะยาว เพราะในระยะสั้นราคาอาจจะแกว่งและปรับขึ้นลงได้ตามสภาวะเศรษฐกิจ รวมไปถึงทำเลที่ตั้งและสภาพแวดล้อมในขณะนั้นด้วย การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ จึงเหมาะกับนักลงทุนที่มีเงินทุนหนาพอสมควร ลักษณะเด่นสำคัญอีกอย่างของอสังหาริมทรัพย์คือ เป็นทรัพย์สินที่มีอายุขัยที่ยืนยาวมาก โดยในทางเศรษฐกิจทั่วไปจะกำหนดอายุขัยเอาไว้ที่ประมาณ 50 ปี แต่ทางกายภาพของอาคาร บ้านเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นมีอายุขัยจริง ๆ อยู่ที่ประมาณ 100 ปีเลยทีเดียว ดังนั้น ผู้ที่ครอบครองอสังหาริมทรัพย์อยู่ หากนำไปใช้ในการสร้างรายได้จะยิ่งคุ้มค่ามากขึ้นไปอีกในระยะยาว
ประเภทของอสังหาริมทรัพย์หมายถึงอะไร
ประเภทของอสังหาริมทรัพย์นั้นจะแบ่งตามลักษณะการใช้สอยออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ซึ่งประกอบไปด้วย
1.อสังหาริมทรัพย์เพื่อการเกษตร เช่น ที่นา ไร่ สวน หรือที่ดินที่จัดให้เป็นพื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรมโดยเฉพาะ
2.อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย เช่น บ้าน คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ แฟลต อพาร์ตเมนต์ เป็นต้น
3.อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ เช่น อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ตลาดสด ศูนย์ประชุม อาคารพาณิชย์ เป็นต้น
4.อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม
5.อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพักผ่อน เช่น รีสอร์ต โรงแรมตากอากาศ เป็นต้น
ดูคู่มือการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าการซื้ออสังหาริมทรัพย์คือ การลงทุนอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองหรือซื้อเพื่อลงทุน ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ ก็สามารถจะให้ผลประโยชน์ที่ดีแก่ผู้ครอบครองได้ แต่สำหรับใครที่กำลังมีความสนใจด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หากต้องการประโยชน์สูงสุดจากอสังหาริมทรัพย์ ขอแนะนำให้ถือครองเอาไว้ในระยะยาว ซึ่งจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง

บทความอื่น ๆ

ข้อความและบทความทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์

อ่านเพิ่มเติม

ค่าใช้จ่ายการโอนกรรมสิทธิ์

อ่านเพิ่มเติม

การคำนวณสินเชื่อบ้าน

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(2)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(3)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(4)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(5)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(6)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(7)

อ่านเพิ่มเติม

Loading...