การคำนวณสินเชื่อบ้าน

              1. จัดเตรียมข้อมูลสินเชื่อบ้าน
ก่อนใช้เครื่องมือคำนวณสินเชื่อบ้าน ผู้ที่สนใจจะผ่อนบ้านจะต้องมีข้อมูลที่จำเป็นต่อการคำนวณสินเชื่อบ้านเสียก่อน ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่สมมติขึ้นหรือข้อมูลโดยประมาณจากความเป็นจริงก็ได้ โดยการคำนวณกู้บ้านจะต้องใช้ข้อมูลดังนี้
2. รายได้รวมต่อปี
รายได้รวมต่อปีหรือรายได้ทั้งปี หมายถึง รายได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โบนัส ค่าตำแหน่ง และรายได้อื่น ๆ ที่พิสูจน์ได้ทางภาษี (มีหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ ทวิ 50) หรือพิสูจน์ได้ทางบัญชี (มีเงินหมุนเวียนในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ) รายได้ทั้งหมดนี้ให้นับรวมเป็นรายได้รวมตลอดทั้งปี
3. วงเงินกู้
วงเงินกู้หรือจำนวนเงินที่ต้องการกู้ หมายถึง วงเงินที่ต้องการขอกู้จากธนาคารเพื่อซื้อบ้าน โดยปกติจะใช้ราคาบ้านที่จะซื้อเป็นวงเงินกู้ตั้งต้น แล้วหักด้วยเงินดาวน์ที่ผู้กู้จัดเตรียมไว้ (ถ้ามี)
4. ระยะเวลากู้
ระยะเวลากู้หรือระยะเวลาในการผ่อน หมายถึง ระยะเวลาที่ต้องการจะผ่อนบ้าน ซึ่งธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อบ้านให้ผู้กู้ผ่อนนานสูงสุดถึง 30 ปี หรืออาจน้อยกว่านั้น โดยขึ้นอยู่กับผลรวมของระยะเวลากู้กับอายุของผู้กู้ที่ต้องไม่เกิน 70 ปี
5. อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ย หมายถึง อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกเป็นร้อยละต่อปีที่จะต้องจ่ายให้ธนาคาร ซึ่งแต่ละธนาคารก็ให้อัตราดอกเบี้ยกับลูกค้าแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่ถ้าไม่ทราบ ก็สามารถใช้ค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปที่ 5% ต่อปี หรือใช้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่อัปเดตล่าสุดของธนาคาร
6. เปอร์เซ็นต์วงเงินกู้สูงสุดของรายได้
เปอร์เซ็นต์วงเงินกู้สูงสุดของรายได้ หมายถึง สัดส่วนความสามารถในการผ่อนบ้านจากรายได้ที่มี โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น 70% ของเงินเดือน 35,000 บาทต่อเดือน ก็หมายความว่าผ่อนบ้านได้สูงสุด 24,500 บาทต่อเดือน
7. ภาระหนี้สินต่อเดือน
การคำนวณภาระหนี้สินต่อเดือน หมายถึง หนี้สินต่าง ๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการผ่อนชำระทุกเดือน เช่น การผ่อนรถ ผ่อนสินค้าในบัตรเครดิต ผ่อนสินเชื่อส่วนบุคคล และการผ่อนชำระหนี้สินอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ความสามารถในการผ่อนบ้านลดลง

             

             

บทความอื่น ๆ

ข้อความและบทความทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

อสังหาริมทรัพย์คืออะไร

อ่านเพิ่มเติม

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์

อ่านเพิ่มเติม

ค่าใช้จ่ายการโอนกรรมสิทธิ์

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(2)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(3)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(4)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(5)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(6)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(7)

อ่านเพิ่มเติม

Loading...