กฏหมายที่เกี่ยวข้อง

              ผู้เช่าต้องการต่อเติมทรัพย์ที่เช่าจะทำได้ไหม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 558 บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่า “อันทรัพย์สินที่เช่านั้น ถ้ามิได้รับอนุญาตของผู้ให้เช่าก่อน ผู้เช่าจะทำการดัดแปลงหรือต่อเติมอย่างหนึ่งอย่างใดหาได้ไม่ ถ้าและผู้เช่าทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของผู้ให้เช่าเช่นนั้นไซร้ เมื่อผู้ให้เช่าเรียกร้อง ผู้เช่าจะต้องทำให้ทรัพย์สินนั้นกลับคืนคงสภาพเดิม ทั้งจะต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การดัดแปลงต่อเติมนั้นด้วย” จากกฎหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากผู้เช่าและผู้ให้เช่าไม่ได้ตกลงกันในสัญญาไว้เป็นอย่างอื่น ผู้เช่าจะต่อเติมทรัพย์ที่เช่าโดยไม่ขออนุญาตจากผู้ให้เช่านั้นไม่ได้ หากผู้เช่าฝ่าฝืนต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อน ผู้ให้เช่าก็มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เช่ารื้อถอนออกไป และให้ผู้เช่าทำให้ทรัพย์สินกลับคืนสู่สภาพเดิมก่อนต่อเติม รวมถึงผู้เช่าต้องรับผิดในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยครับ อย่างไรก็ตาม กฎหมายข้อนี้ไม่ใช่กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้เช่าและผู้ให้เช่าสามารถตกลงกันให้แตกต่างจากนี้ไว้ในสัญญาเช่าได้ ยกตัวอย่างเช่น ในสัญญาอาจระบุไว้เลยว่าผู้เช่ามีสิทธิต่อเติมทรัพย์ที่เช่าโดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน แต่เมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้วผู้ให้เช่าก็มีสิทธิเลือกที่จะเก็บเอาไว้ หรือเรียกให้รื้อออกไปแล้วแล้วทำให้กลับสู่สภาพเดิมก็ได้ ถ้ามีสัญญาตกลงกันไว้แบบนี้ ก็บังคับกันไปตามสัญญา

              ถ้าต่อเติมทรัพย์ที่เช่าไปแล้ว เมื่อสัญญาเช่าเลิกกัน ผู้เช่ารื้อถอนออกไปได้ไหม
ปัญหานี้ต้องแยกเป็น 2 กรณีคือ กรณีที่ต่อเติมโดยชอบด้วยกฎหมายหรือชอบด้วยสัญญา คือได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าก่อนแล้ว หรือสัญญาอนุญาตให้ทำได้ กับกรณีที่ต่อเติมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยสัญญา สำหรับกรณีแรก คือ ผู้เช่าต่อเติมโดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยชอบด้วยสัญญา แบบนี้ก็ต้องไปดูความตกลงกันตอนแรกที่ผู้ให้เช่าอนุญาตให้ต่อเติม หรือดูข้อตกลงในสัญญาว่าตกลงกันไว้อย่างไรตอนนั้น ถ้าตอนแรกอนุญาตหรือในสัญญาระบุไว้ว่าไม่ให้รื้อถอน ผู้เช่าก็รื้อถอนออกไปไม่ได้ ถ้าตอนอนุญาตหรือในสัญญาระบุว่าให้รื้อถอนแล้วทำให้กลับสู่สภาพเดิม ก็ต้องรื้อถอนแล้วทำให้กลับสู่สภาพเดิมตามนั้น แต่หากว่าตอนอนุญาตหรือตอนทำสัญญาไม่ได้ระบุไว้ แล้วผู้เช่าประสงค์จะรื้อถอนออกไป ก็ต้องมาดูหลักกฎหมายเรื่องส่วนควบ ถ้าเป็นส่วนควบผู้เช่าก็รื้อถอนออกไปไม่ได้ แต่ถ้าไม่ใช่ส่วนควบ ผู้เช่าก็รื้อถอนออกไป เรื่องส่วนควบนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 144 บัญญัติไว้ว่า “ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป” ความหมายของส่วนควบคือ ส่วนที่เป็นสาระสำคัญของตัวทรัพย์ และไม่อาจแยกจากกันได้เว้นแต่จะทำให้ตัวทรัพย์นั้นถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น แอร์ไม่ถือเป็นส่วนควบเพราะไม่ใช่สาระสำคัญของบ้าน รื้อถอนออกได้ ไม่ต้องทำลายบ้านเพื่อรื้อถอน โซล่าร์เซลล์ ไม่เป็นส่วนควบ เพราะไม่ใช่สาระสำคัญของบ้าน รื้อถอนออกได้ไม่ต้องทำลายหลังคา แต่ประตู หรือกำแพงที่ก่อขึ้นมา ถือเป็นสาระสำคัญของบ้าน ถ้ารื้อถอนออกมาจะทำให้ตัวบ้านเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป แบบนี้เป็นส่วนควบรื้อถอนออกไปไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ทรัพย์ที่ต่อเติมจะกลายเป็นส่วนควบแต่หากเป็นการต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อผู้ให้เช่าเรียกร้อง ผู้เช่าก็ต้องรื้อถอนออกไปและทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมตามมาตรา 558 ด้วย

              ถ้าผู้เช่ายังคงดื้อดึง รื้อถอนออกไป ผู้ให้เช่าสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
หากผู้เช่ารื้อถอนทรัพย์ที่ต่อเติมออกไปโดยผิดจากข้อตกลงตอนที่ได้รับอนุญาต หรือรื้อถอนออกไปโดยผิดจากสัญญา หรือรื้อถอนทรัพย์ที่เป็นส่วนควบออกไปก็ถือว่าเป็นการผิดสัญญา หรือทำละเมิด ทำให้ผู้ให้เช่าเสียหาย ผู้ให้เช่าสามารถดำเนินคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการรื้อถอนส่วนควบ โดยที่ตัวผู้เช่าเองอาจไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ อาจพิจารณาได้ว่าเป็นการจงใจทำให้ทรัพย์สินที่เช่าเสียหาย ก็อาจเป็นความผิดอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ได้อีกฐานหนึ่งด้วย ถ้าส่วนที่ต่อเติมนั้นเป็นส่วนควบกับบ้าน แต่ผู้เช่าอยากรื้อออก โดยให้สัญญาว่าจะซ่อมแซมให้เหมือนเดิมก่อนที่จะมีการต่อเติม ทำได้หรือไม่ ถ้ามีความตกลงกันระหว่างทั้งสองฝ่าย ก็สามารถทำได้ แต่หากเมื่อรื้อถอนออกไป

บทความอื่น ๆ

ข้อความและบทความทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

อสังหาริมทรัพย์คืออะไร

อ่านเพิ่มเติม

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์

อ่านเพิ่มเติม

ค่าใช้จ่ายการโอนกรรมสิทธิ์

อ่านเพิ่มเติม

การคำนวณสินเชื่อบ้าน

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(2)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(3)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(4)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(5)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(6)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(7)

อ่านเพิ่มเติม

Loading...