กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(3)

              กฎหมายที่เกี่ยวข้องการซื้อบ้านขายทอดตลาด แต่เจ้าของเดิมไม่ย้ายออก
ในเรื่องนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 334 บัญญัติไว้
“มาตรา 334 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ หากทรัพย์สินที่โอนนั้นมีลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารอยู่อาศัย และลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ยอมออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ซื้อชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลให้อออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยให้นำบทบัญญัติมาตรา 271 มาตรา 278 วรรคหนึ่ง มาตรา 351 มาตรา 352 มาตรา 353
วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง มาตรา 354 มาตรา 361 มาตรา 362 มาตรา 363 และมาตรา 364 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารที่อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าว” กฎหมายมาตราข้างต้นเป็นกฎหมายที่ถูกแก้ไขใหม่ไม่นานมานี้ในปี 2560 เพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ให้สามารถบังคับคดีกับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารได้ทันทีไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ กฎหมายดังกล่าวสามารถแยกออกพิจารณาองค์ประกอบได้ดังนี้
– คุ้มครองใคร
ตัวบทใช้คำว่าผู้ซื้อ (ที่ได้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จากเจ้าพนักงานบังคับคดี) ซึ่งก็คือผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีนั่นเอง
– คุ้มครองจากใคร
จากลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบริวาร (บริวารหมายถึงผู้ที่อาศัยอยู่โดยอาศัยสิทธิของลูกหนี้คามคำพิพากษานั้น)
– ได้รับความคุ้มครองอย่างไร
ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจะมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา สามารถร้องขอศาลที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่ทรัพย์ตั้งอยู่บังคับคดีขับไล่ได้ทันที (มาตรา 271 มาตรา 278 วรรคหนึ่ง มาตรา 351 มาตรา 352 มาตรา 353 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง มาตรา 354 มาตรา 361 มาตรา 362 มาตรา 363 และมาตรา 364 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับคดีขับไล่ตามคำพิพากษา) เมื่อศาลได้รับคำขอให้ออกหมายบังคับคดีแล้ว ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีได้โดยไม่ต้องไต่สวนหรือรับฟังลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารก่อนด้วย
ผลของความคุ้มครองคืออะไร
ผลก็คือ ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดสามารถขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีขับไล่ได้เหมือนตนเองชนะคดีขับไล่ตามคำพิพากษาทันที ไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงประหยัดเวลาดำเนินคดีไปมาก อย่างน้อยก็ประมาณ 1 ปีในศาลชั้นต้น และอย่างน้อยอีก 6 เดือน-1 ปีในศาลอุทธรณ์ และอีกหลายปีในศาลฎีกา (หากมี) จึงเป็นการคุ้มครองผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี และสร้างแรงจูงใจให้มีคนกล้าซื้อทรัพย์มากขึ้น ผู้ที่อาศัยอยู่ในอสังหาฯ ไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารต้องทำอย่างไร กฎหมายข้างต้นกำหนดขอบเขตการใช้บังคับเฉพาะกับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารเท่านั้น แต่ถ้ามีบุคคลอื่นนอกเหนือจากนี้อยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้จากการขายทอดตลาด ผู้ซื้อจะต้องดำเนินการตามปกติ คือ ฟ้องคดีแพ่งจนมีคำพิพากษาให้ชนะคดี (ซึ่งก็ต้องใช้เวลาตามที่กล่าวมาแล้ว) แล้วจึงขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีขับไล่ได้

             

             

บทความอื่น ๆ

ข้อความและบทความทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

อสังหาริมทรัพย์คืออะไร

อ่านเพิ่มเติม

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์

อ่านเพิ่มเติม

ค่าใช้จ่ายการโอนกรรมสิทธิ์

อ่านเพิ่มเติม

การคำนวณสินเชื่อบ้าน

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(2)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(4)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(5)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(6)

อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง(7)

อ่านเพิ่มเติม

Loading...